วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

หลักการถ่ายภาพเบื้องต้น

ไม่ว่าจะเป็นกล้อง Digital Compact ,Digital SLR หรือ กล้อง Film ก็มีหลักการคล้ายๆกันครับแต่ข้อจำกัดต่างๆ อาจจะแตงต่างกันไปบ้างเนื่องจากเลนส์ สือบันทึก และสเป็คของกล้องค่อนข้างจะแตกต่างกันแต่หลักการต่างๆยังเหมือนกัน
การจะถ่ายภาพออกมาให้ดูดี ไม่ว่าจะเป็นกล้องราคาแพง หรือมีประสิทธิภาพแค่ไหนถ้าขาดหลักการที่ดีก็อาจจะทำให้ภาพออกมาดูไม่ดีได้ครับ ดังนั้นผมมีเทคนิคคร่าวๆมาให้ลองอ่านกันนะครับ
การเลือกมุม... ภาพที่ออกมาดูขัดๆ อาจจะเป็นเพราะเราเลือกมุมได้ไม่ดี เช่นการวาดภาพถ้าเรามีวัตถุอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งมากกเกินไปด้านที่มีวัตถุมากๆ ก็จะดูไม่สมดุล เช่นเดียวกับการถ่ายภาพการถ่ายภาพ แต่การถ่ายภาพจะจัดองค์ประกอบได้ยากกว่าการวาดภาพ
เราอาจจะใช้กฎสามส่วน (Rule of Third) ซึ่งก็คือวิธีการใช้เส้น 4 เส้นมาตัดกันจะเกิดจุดที่ตัดกัน 4 จุดดังภาพ
ซึ่ง 4 จุดนั้นจะเป็นจุดที่ให้ความสนใจของภาพ ถ้าเราจะเน้นให้วัตถุใดมีความน่าสนใจก็ควรจะวางไว้บริเวณจุดใดจุดหนึ่ง
ภาพย้อนแสง.. ควรหลีกเลี่ยงการถ่ายภาพย้อนแสง เพราะจะทำไม่สามารถเห็นรายละเอียดของสิ่งที่เราต้องการจะถ่ายได้ (วัตถุนั้นๆจะมืดนั่นเอง)
ลักษณะของการถ่ายย้อนแสง กล้องถ่ายภาพ --> วัตถุที่ต้องการถ่าย --> แหล่งกำเนิดแสงลักษณะการถ่ายภาพไม่ย้อนแสง แบบที่ 1 กล้องถ่ายภาพ --> แหล่งกำเนิดแสง --> วัตถุที่ต้องการถ่ายลักษณะการถ่ายภาพไม่ย้อนแสง แบบที่ 2 แหล่งกำเนิดแสง --> กล้องถ่ายภาพ --> วัตถุที่ต้องการถ่าย



ชนิดของกล้องถ่ายภาพ

กล้องที่เราจะพูดถึงนี้จะจำกัดอยู่เฉพาะในแวดวงของผู้บริโภคทั่วๆ ไป ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกล้องที่ใช้ฟิล์มหรือกล้องดิจิตอลเราก็จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือกล้องที่มองภาพตรง หรือกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (SLR)
กล้องมองภาพตรง

กล้องชนิดนี้มีช่องมองภาพอยู่ตอนบนเหนือเลนส์ที่ใช้ในการถ่ายภาพ (ไม่มีตำแหน่งที่แน่นนอน อาจอยู่ตรงกลางพอดีหรืออาจค่อนไปทางซ้าย หรือขวาก็ได้) การมองภาพเพื่อบันทึกจะเป็นลักษณะการมองตรงจากช่องมองภาพ ในขณะที่กล้องบันทึกจะเป็นการบันทึกภาพผ่านเลนส์ (ซึ่งจะอยู่คนละตำแหน่งกับช่องมองภาพ) ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาได้เวลาที่ถ่ายภาพในระยะใกล้ หรือเป็นการถ่ายแบบแน่นเต็มเฟรมภาพ ซึ่งเราจะเรียกปัญหานี้ว่า parallax error แต่หากเป็นการถ่ายภาพแบบหลวมๆ ภาพวิวทิวทัศน์ จะไม่มีปัญหาเท่าไรเนื่องจากขอบเขตไม่ได้ถูกกำหนดแต่กลืนไปกับภาพโดยรวม

ปกติแล้วกล้องจะมีกรอบตีกำหนดไว้ในช่องมองภาพ เราสามารถใช้เฟรมนั้นกำหนดขอบเขตของภาพได้ ซึ่งเป็นการป้องกันปัญหาได้ดีระดับหนึ่ง ในส่วนของกล้องดิจิตอลนั้น จะได้เปรียบในเรื่องของจอ LCD ซึ่งจะให้ภาพที่บันทึกได้จริง ทำให้หมดปัญหาไปสำหรับผู้ที่ใช้กล้องดิจิตอลซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมมองภาพหรือเล็งภาพด้วยจอ LCD แทนการมองผ่านช่องมองภาพ (ซึ่งบางครั้งเล็กมากๆ จนมองแทบไม่รู้เรื่อง)


กล้องแบบสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (SLR)
เป็นกล้องที่มองภาพสะท้อนผ่านเลนส์ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่องของ parallax error ภาพที่บันทึกได้จะเป็นภาพในมุมมองเดียวกับที่เราเล็งผ่านช่องมองภาพ (แม้ขอบเขตของภาพอาจไม่เต็ม 100%) มีฟังชั่นในการควบคุมระบบการบันทึกภาพหลายอย่าง สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ทำให้สามารถสร้างมุมมองของภาพได้หลากหลายขึ้น มีอุปกรณ์เสริมที่สามารถรองรับการทำงานได้มากขึ้น เป็นกล้องที่ได้รับความสนใจในหมู่ของผู้ที่สนใจในการถ่ายภาพ แต่ราคาจะค่อนข้างสูงกว่ากล้องมองภาพตรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกล้องดิจิตอลซึ่งแม้ปัจจุบันจะมีผู้ผลิตหันมาให้ความสนใจผลิตกล้องดิจิตอล SLR ราคาต่ำมาให้เลือกใช้ แต่อุปกรณ์ต่างๆ ก็ยังนับว่าสูงอยู่หากต้องการได้คุณภาพของงานภาพที่ดี
ผู้ผลิตบางรายผลิตกล้องดิจิตอล SLR-like ขึ้นมาอยู่ระหว่างกลางระหว่างกล้องทั้งสองประเภทเพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวเลือก ซึ่งมีจุดเด่นที่น่าสนใจทีเดียวในด้านของความกะทัดรัด ความสะดวกในการใช้งาน และฟังชั่นการทำงานที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ แต่ละยี่ห้อก็จะมีราคาแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งานเป็นหลัก




การถ่ายภาพนิ่ง (Still life)

การถ่ายภาพหุ่นนิ่ง หมายถึง การถ่ายภาพวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เช่น แจกันดอกไม้ ถ้วยจานช้อนซ้อม ขวดเหล้า เบียร์ แก้ว บุหรี่ น้ำหอม เสื่อผ้า รองเท้า ผัก ผลไม้ อาหาร ฯลฯ จุดมุ่งหมายส่วนใหญ่ก็เพื่อนำภาพไปจัดทำเป็นสื่อในการโฆษณา เช่น ทำปกหนังสือ วารสาร โปสเตอร์ หรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆการฝึกถ่ายภาพหุ่นนิ่ง จะช่วยให้เราได้เรียนรู้เทคนิคต่าง ๆในการถ่ายภาพได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะวัตถุสิ่งของต่าง ๆที่นำมาถ่ายภาพจะอยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหวเราสามารถทดลองจัดภาพได้หลาย ๆแบบตามต้องการ ส่วนการใช้แสงก็ทำได้หลายลักษณะ อาจใช้แสงธรรมชาติ แต่ส่วนมากมักใช้แสงไฟประดิษฐ์ เพราะสามารถควบคุมทิศทางตลอดจนปริมาณของแสงสว่างได้ตามความเหมาะสมขั้นตอนการถ่ายภาพหุ่นนิ่ง1. จัดสถานที่ได้แก่ โต๊ะชุดสำหรับถ่ายภาพหุ่นนิ่งประกอบด้วยขาตั้งเหล็ก หรืออลูมิเนียมมีแผ่นพลาสติกสีต่าง ๆ เช่นสีขาว ดำ น้ำเงิน และม่วง เป็นที่วางวัตถุที่จะถ่ายภาพ ผิวหน้าของแผ่นพลาสติกมี 2 ด้าน ด้านหนึ่งผิวด้าน ส่วนอีกด้านหนึ่งผิวจะมัน คุณสมบัติของแผ่นพลาสติก คือถ้าใช้ไฟส่องด้านบนจะได้แสงตกกระทบธรรมดา แต่ถ้าใช้ไฟส่องจากด้านล้าง แสงจะสามารถทะลุพื้นพลาสติกขึ้นด้านบนสามารถใช้เป็นแสงสำหรับลดเงา หรือใช้เป็นแสงส่องจากพื้นล้างและด้านหลังของวัตถุ2. ออกแบบ สเก็ตภาพ (lay – out) การจัดวางองค์ประกอบของวัตถุ ซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมงานเข้าใจรูปแบบและแนวคิด สามารถจัดหาวัตถุประกอบฉาก ตลอดจนการจัดภาพได้ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น3. จัดหาวัตถุ สิ่งของ ที่จะถ่ายภาพ ถ้าเป็นประเภทผัก ผลไม้ ควรเตรียมไว้ให้มากพอ คอยฉีดน้ำดูแลให้สดอยู่เสมอ4. นำวัตถุสิ่งของที่จะถ่าย วางบนโต๊ะถ่ายภาพ โดยจัดวางตามแบบที่สเกตภาพไว้5. ทดลองจัดแสง ซึ่งอาจใช้หลอดไฟทังสเตน ถ้าเป็นการถ่ายภาพชิ้นเล็ก ๆ ก็ใช้สปอตไลท์ 500 วัตต์ 2-3 ดวงแต่ถ้าเป็นการถ่ายภาพขนาดใหญ่ ก็ต้องใช้ไฟที่มีกำลังวัตต์สูง ๆ เช่น 2000 วัตต์ถึง 5000 วัตต์ โดยใช้ผ่านแผ่นกรองแสงเพื่อให้ได้แสงที่นุ่มนวล ใช้แผ่นสะท้อนแสงลดเงาและอาจใช้ไฟส่องฉากหลัง เพื่อเน้นวัตถุให้เห็นเด่นชัดในปัจจุบันนิยมใช้แฟลชอิเลคทรอนิคส์ มีอุปกรณ์ เช่น ร่มสะท้อนแสง จานสะท้อนแสง ประตูโคม (Barn doors) กรวยแสง (Snoot) ซึ่งจะให้ความสะดวก สามารถบังคับทิศทางและปริมาณของแสงได้ตามต้องการ6. กล้องสำหรับถ่ายภาพหุ่นนิ่ง ถ้าไม่จำเป็นต้องนำภาพไปขยายให้ใหญ่มาก ก็อาจใช้กล้อง ขนาด 35 มม.แต่ถ้าต้องการขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ ก็ควรใช้กล้องขนาดกลางที่ใช้ฟิล์มขนาด 4” x 5” กล้องถ่ายภาพต้องตั้งบนขาตั้งกล้องให้มั่นคง เพราะการถ่ายภาพหุ่นนิ่งต้องการภาพที่ละเอียดชัดเจน และชัดลึกจึงต้องเปิดช่องรับแสงให้แคบมาก ๆ เช่น f16 ฉะนั้นความเร็วชัตเตอร์ จะต้องช้ามากเพื่อให้สัมพันธ์กับขนาดช่องรับแสง

เทคนิคการถ่ายภาพเคลื่อนไหว

การถ่ายภาพเคลื่อนไหวสามารถนำมาใช้ในการถ่ายภาพกีฬา คน สัตว์ วัตถุใดๆ ที่เคลื่อนไหว เทคนิคการถ่ายภาพเคลื่อนไหวเช่น
ภาพที่จับการเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง
การถ่ายภาพประเภทนี้ สิ่งสำคัญก็คือจะต้องเลือกใช้ความไวชัตเตอร์ให้เหมาะสมเพื่อจับภาพการเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง การใช้ความไวชัตเตอร์มีปัจจัยสามประการที่ต้องพิจารณาคือ ความเร็วของวัตถุ ระยะทางจากกล้องถึงวัตถุ ทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ
วัตถุเคลื่อนที่เร็วใช้ความเร็วชัตเตอร์มากกว่าวัตถุเคลื่อนที่ช้า(ทิศทางเดียวกัน ระยะทางเท่ากัน)
วัตถุเคลื่อนที่ระยะใกล้ใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงกว่าวัตถุในระยะไกลออกไป(ความเร็วเท่ากัน ทิศทางเดียวกัน) สำหรับการเคลื่อนที่
หากเคลื่อนที่ผ่านหน้ากล้องจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงกว่าทิศทางอื่นๆ ส่วนทิศทางการเคลื่อนที่เข้าหรืออกจากตัวกล้อง สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ปานกลางถึงต่ำ
ภาพที่แสดงลีลาการเคลื่อนไหว
ลักษณะของภาพประเภทนี้ จะมีส่วนที่มีความคมชัดกับพร่ามัวรวมอยู่ในภาพ แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวและความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้สามารถใช้ได้ค่อนข้างกว้างมาก ขึ้นอยู่กับผู้ถ่ายเองว่าจะต้องการภาพที่คมชัดหรือพร่ามัวมากน้อยแค่ไหน หากใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำมากๆความพร่ามัวจะยิ่งมากขึ้น
การใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ จะทำให้ภาพพร่ามัว แสดงถึงการเคลื่อนไหวของวัตถุ และอาจใช้แฟลชร่วมได้
การแพนกล้องหรือการส่ายกล้องตามการเคลื่อนที่ของวัตถุ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่นิยมนำมาใช้ โดยผลของการใช้จะทำให้วัตถุหยุดนิ่ง เช่น ฉากหน้าหรือฉากหลังพร่ามัว ส่วนวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวจะคมชัด(ถ้าโฟกัสถูกต้อง) ข้อสำคัญคือจะต้องแพนกล้องตามการเคลื่อนที่จนถึงตำแหน่งที่ต้องการและในขณะกดชัตเตอร์ต้องแพนกล้องตามในขณะที่กล้องบันทึกภาพด้วย เพราะการหยุดการแพนกล้องในขณะกดชัตเตอร์จะทำให้ได้ภาพพร่ามัวเพียงอย่างเดียว
การแพนกล้องที่ดี คือ จากซ้ายไปขวา ความเร็วชัตเตอร์ใช้ได้ตั้งแต่ความไวปานกลางถึงต่ำมาก
นอกจากนี้ยังสามารถใช้เลนส์ซูม ซูมภาพในขณะที่กดชัตเตอร์ ภาพจะมีลักษณะพุ่งเข้าหากล้องแต่จริงๆแล้ววัตถุอยู่กับที่
เคล็ดลับนี้ค้นมาจากหนังสือ 108 เทคนิคการสร้าสรรค์ภาพ โดยคุณประสิทธิ์ จันเสรีกร
เนื่องมาจากการเปลี่ยนทางยาวโฟกัส และอีกวิธีคือการใช้แฟลชร่วมกับความเร็วชัตเตอร์ต่ำ(1/8วินาที หรือต่ำกว่า)ภาพที่ได้จะมีความคมชัดผสมพร่ามัว

การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์

ในการถ่ายรูปวิวทิวทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นภูเขา, City Landscape, หรือทะเล สิ่งสำคัญที่ควรจะคำนึงถึงก็คือเรื่องของการจัดแสง สิ่งที่ผู้ถ่ายต้องการตอนนั้นคืออะไร ต้องการอารมณ์ภาพเป็นแบบไหน ซึ่งลักษณะแสงที่ปรากฏก็จะมีหลักๆ 2 แบบด้วยกันคือ1 การถ่ายภาพตามแสง >> ในการถ่ายภาพตามแสงนั้น ภาพที่ออกมา จะได้รายละเอียดที่ค่อนข้างครบถ้วน อย่างเช่นเราจะถ่าย วิวภูเขา หรือเกาะแก่งต่างๆการถ่ายภาพตามแสงนั้นจะช่วยให้เกิดความชัดเจนในรายละเอียดมากขึ้นซึ่งการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ส่วนใหญ่นั้นจะใช้วิธีการถ่ายภาพตามแสงครับ เพื่อที่จะได้รายละเอียด สื่อไปถึงคนที่จะมาชมภาพครับ ว่าทิวทัศน์หรือสถานที่ต่างๆที่เราได้ไปเก็บภาพมา มีลักษณะอย่างไร รายละเอียดเป็นอย่างไร ซึ่งสามารถเห็นได้จากภาพได้ทันที ส่วนในเรื่องการวัดแสงนั้นควรจะตั้งโหมดวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพครับ และถ้าต้องการความสดของสีที่เกิดขึ้น ก็ควรจะใส่ฟิลเตอร์ CPL ไว้ด้วยนะครับซึ่งจะมีประโยชน์มากเมื่อเราใช้ถ่ายภาพทะเลครับ CPL จะตัดแสงสะท้อนออก ให้เหลือแต่แสงสีที่แท้จริงของท้องฟ้าและทะเล ทำให้ได้ทะเลสีมรกตและท้องฟ้าสีฟ้าสวยงามครับ2. การถ่ายภาพย้อนแสง >> การถ่ายภาพประเภทนี้จะไม่เน้นรายละเอียดของวัตถุที่เราจะเอามาเป็นแบบครับ คนทั่วไปจะหลีกเลี่ยงการถ่ายภาพย้อนแสงครับเพราะมันไม่เห็นรายละเอียด เห็นแต่อะไรก็ไม่รู้มืดๆ แต่จริงๆ แล้ว ถ้าเราจัดองค์ประกอบได้ดีและเข้าใจอารมณ์ที่จะถ่ายทอดออกมาทางภาพภาพที่ได้ก็จะออกมาอย่างสวยงามได้อารมณ์เป็นอย่างมากครับจุดประสงค์ของการถ่ายภาพย้อนแสง จริงๆแล้วจะเน้นอารมณ์ของภาพมากกว่ารายละเอียดครับ อย่างเช่นการถ่ายภาพชีวิตชาวเล ตอนพระอาทิตย์ตกดินหรือภาพทิวเขาหลังอาทิตย์ลับขอบฟ้า ซึ่งแม้ภาพเหล่านี้จะไม่ได้ให้รายละเอียดมากนัก แต่ว่าจะได้อารมณ์บรรยากาศของสถานที่ ณ เวลานั้นๆ ได้อย่างดีทีเดียว

การถ่ายภาพบุคคล

การที่เราจะถ่ายบุคคล(โดยเฉพาะอย่างยิ่ง..นางแบบ)ให้ได้ดี..ให้ออกมาสวยเป็นที่น่าพอใจ(ของตัวแบบเอง)นั้นตัวช่างภาพเองจะต้องคำนึงถึงเทคนิคต่างๆเหล่านี้..
*หมายเหตุ ในที่นี้จะขอใช้คำว่า “นางแบบ” แทนบุคคลทั้งหมด
การทิ้งฉากหลัง หรือ ละลายฉากหลังดีตรงที่จะทำตัวแบบเด่น ไม่มีฉากหลังรก ๆ มาแย่งสายตา แต่ในบางกรณี..หากฉากหลังไม่แย่งสายตา หรือ เป็นลักษณะฉากหลังที่สามารถที่จะเล่าเรื่องราวได้ ก็ถือได้ว่าเป็นภาพที่สมบูรณ์เช่นกัน
แสงสีของฉากหลังแสงสีของฉากหลังที่ดี ก็คือ แสงสีของฉากจะต้องมืดกว่าค่าแสงเฉลี่ยของหน้านางแบบ และสว่างกว่าค่าแสงที่ผมส่วนมืดของนางแบบ ในบางกรณี..เราจะอาจกำหนดให้ฉากหลังมีความสว่าง หรือ ชัด ก็ได้ ถ้าหากฉากหลังนั้นๆ มีความน่าสนใจ (แต่ถ้าหากฉากหลังนั้นมีลักษณะไม่สวยงาม ยุ่งเหยิง รวมทั้งจะไปแย่งความเด่นของตัวแบบไปโดยไม่จำเป็นแล้ว ก็ให้ใช้วิธีการละลายฉากหลัง หรือ เลี่ยง/หลบฉากหลังแทน)
อย่าให้ตัวแบบ/นางแบบกลายเป็นคนพิการกล่าวคือ ในถ่ายรูปบุคคลใดๆ พยายามอย่าทำให้นางแบบเป็นคนพิการเด็ดขาด นั่นคือ อย่าให้ปลายมือ ปลายเท้า ข้อศอกขาดพยายามเก็บเข้ามาในเฟรมให้หมด แต่..ถ้าหากจะตัดส่วนไม่เอาไว้ในเฟรมก็ต้องตัดให้เห็นว่าจงใจตัด เช่น ตัดสูงกว่าศอกและเข่า (แต่ประเภทเห็นทั้งตัว ยกเว้นนิ้วเท้าอย่างนี้ไม่ควรตัดอย่างเด็ดขาด)
อย่าให้ตัวแบบคอขาดถ้าฉากหลังเป็นท้องฟ้า ทะเล ขอบฟ้า หรือ อะไรก็ตามที่มีเส้นนอน พยายามอย่าจัดให้พาดผ่านคอนางแบบเด็ดขาด เพราะจะทำให้ได้ภาพในลักษณะ “นางแบบคอขาด”
*จะให้ที่สุดดีควรจัดให้เส้นนอนอยู่สูงกว่าระดับศีรษะ หรือ ต่ำกว่าไหล่จึงจะทำให้ภาพดูดีขึ้น
การวัดแสงที่หน้าให้ โฟกัสไปที่ลูกตาเป็นสำคัญการถ่ายภาพใบหน้า “จะต้องเน้นถ่ายลูกตา : ลูกตาจะต้องชัดเสมอ” ถ้าหากไม่ชัดก็จะต้องมีเหตุผลมารองรับว่า...ทำไมถึงไม่อยากให้ชัด
*ใบหน้าจะเป็นจุดแรกที่คนมอง ดังนั้นอย่างน้อยที่สุดเราจะต้องเซ็ทให้แสงที่หน้าพอ ดีเสมอ ยกเว้นในกรณีที่เจตนาให้มืด หรือ สว่างกว่าปกติ...แต่ก็ต้องมีเหตุผลมารองรับเสมอ
จะเลือกขวา หรือ ซ้าย ดี"ปกติแล้วใบหน้าของคนเราทั้งสองซีก...สวยไม่เท่า กัน”
เรื่องนี้ช่างภาพผู้ที่มีความพิถีพิถันจะต้องอาศัยกา รพินิจพิจารณาให้ดี ๆ หลังจากนั้นจึงค่อยพยายามวางกล้องให้อยู่ฝั่งที่สวยกว่า หรือ จัดแสงหลักให้อยู่ฝั่งที่สวยกว่า

เทคนิคการถ่ายภาพคอนเสิร์ต

บอกวิธีชดเชยแสงในการถ่ายภาพคอนเสิร์ต
การจับวินาทีสุดยอดช่วงคอนเสิร์ตนั้นดูเป็นเรื่องท้าทายกับประสบการณ์ที่เต็มเปี่ยม และจากประสบการณ์ดังกล่าวจะทำให้คุณหาช่วงเร้าใจของนักแสดงที่โก่งโค้งจากแผ่นฟิล์มได้ อย่างไรก็ตาม คุณก็จะเผชิญกับกับสภาพธรรมชาติที่ไม่เอื้อต่างๆ นานา อาทิ ค่าแสงที่ผันแปรอย่างต่อเนื่อง และภาพมัวที่เกิดจากเคลื่อนไหวของวัตถุ เนื่องจากเราไม่สามารถใช้ขาตั้งกล้องในเวลานั้นได ้ และต้องถ่ายข้ามศีรษะคน จึงต้องใช้ความพยายามอย่างไม่ลดละ ทำให้เราต้องใช้นโยบายป้องกันไว้ก่อน โดยการถ่ายหลายๆ ม้วน เนื่องจากเราจูงใจที่มุ่งมั่นในการถ่ายภาพ จากเหตุการณ์ที่มีแสงต่ำจะทำให้ช่างภาพค้นหาวิธีที่จะพ้นอุปสรรคเหล่านี้ได้
แง่มุมต่างๆ ทางเทคนิคในการถ่ายภาพคอนเสิร์ตจะให้ทางเลือกที่จำกัดมาก เมื่อถ่ายภาพคอนเสิร์ตหรือเหตุการณ์บนเวทีอื่นๆ จะต้องปรับการเปิดรับแสงเพื่อชดเชยแสงที่ควบคุมยาก เนื่องจากในระหว่างคอนเสิร์ตสปอร์ตไลท์จะเปลี่ยนบ่อยมาก ซึ่งมีผลต่อค่าของแสงในเหตุการณ์ ดังนั้นเวลาที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพก็คือเมื่อแสงสว่างจ้าที่สุด อย่างไรก็ตามแม้ว่าแสงจะสว่างสูงสุด ก็ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ไวมากเพื่อหยุดแอคชั่นต่างๆ อย่างน้อยสุดใช้ 1/125 วินาที และคุณควรได้ทำตามคำแนะนำต่อไปนี้

บอกวิธีใช้ฟิล์มในการถ่ายภาพคอนเสิร์ต
การใช้ฟิล์มไวแสง แฟลชแทบจะไม่ต้องใช้เลย ดังนั้นคุณจะถ่ายภาพส่วนใหญ่จากแสงที่มีอยู่แล้ว แต่เนื่องจากระดับแสงต่ำและมีการเคลื่อนไหวของวัตถุ จึงต้องใช้ฟิล์มที่มีอัตราความไวแสงอย่างน้อย 400 ISO ถ้าใช้ 1400 ISO จะดียิ่งขึ้น แต่ถ้าเมื่อไรเป็นโฆษณาลงนิตยสาร ควรใช้ฟิล์มโปร่งใสด้วย ส่วนฟิล์มสไลด์จะให้การคำนวณการเปิดรับแสงแม่นยำกว่าฟิล์มธรรมดา

บอกวิธีใช้เครื่องวัดแสงจุดในการถ่ายภาพคอนเสิร์ต
การใช้เครื่องวัดแสงจุดและเล็งไปที่วัตถุ จะทำให้การกำหนดการเปิดรับแสงแม่นมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แต่ถ้าแสงจัดหรือมืดมากเกินไป ใช้มิเตอร์วัดแสงจุดอ่านหาค่ากลางของน้ำหนักของเหตุการณ์ เนื่องจากธรรมชาติของสปอร์ตไลท์ การอ่านค่าแสงจากขั้นตอนทั้งหมดทำให้กล้องหาค่าการเปิดรับแสงได้ไม่พอเหมาะ ถ้าหากว่ากล้องไม่มีมิเตอร์วัดแสงจุดในตัว คุณจะต้องใช้มิเตอร์มาตรฐาน และเพิ่มค่าเปิดรับแสงพิเศษ

บอกวิธีเลือกใช้เลนส์ในการถ่ายภาพคอนเสิร์ต
การใช้เลนส์ซูม การใช้เลนส์ชนิดนี้จำเป็นต้องใช้ความยาวโฟกัสมาก ดังนั้นจึงมีประสิทธิภาพมากกว่าเลนส์ Telephoto และเมื่อต้องการถ่ายภาพขณะที่มีฝูงชนหนาแน่น การใช้ Switching Lens จะไม่ได้ผล ให้เลนส์ซูม 80-200 มม. จะเหมาะกับการถ่ายภาพในคอนเสิร์ตมากกว่า แต่ถ้าต้องการเล็งภาพให้ใกล้มากขึ้นกว่าการใช้ความยาวโฟกัส 200 มม. นั้น ควรจะเพิ่มตัวขยายเลนส์ ซึ่งตัวขยายเลนส์ที่ใช้กันมากที่สุด คือ 2x ซึ่งจะเพิ่มความยาวโฟกัสของเดิมเป็น 2 เท่าอย่างมีประสิทธิผล และพึงรู้ไว้ว่าตัวขยายเลนส์ต้องการการเปิดรับแสงเพิ่มขึ้น 2 Stop ดังนั้นเลนส์ที่มีประสิทธิผลจะช้ากว่า 2 Stop ตัวอย่าง เลนส์ 135 มม. มีค่า F/2.8 จะกลายเป็นเลนส์ที่มีค่า F/5.6 270 มม. เมื่อใช้ ZX Extender

อธิบายวิธีจับกล้องในการถ่ายภาพคอนเสิร์ต
ต้องแน่ใจว่าขณะถ่ายภาพมือจะไม่สั่น เพราะขาตั้งกล้อง 3 ขาและขาเดียว แทบจะใช้ไม่ได้ผลเลยในเวทีคอนเสิร์ต ดังนั้นจะต้องจับกล้องให้มั่น แต่การจับเลนส์ถ่ายไกลให้มั่นคงนั้นทำได้ยาก เคล็ดลับคือการหายใจลึกๆ เพื่อกดชัตเตอร์แล้วปล่อย การวางกล้องกับเลนส์รวมกันไว้บนที่นั่ง กำแพงหรือรั้ว จะทำให้กล้องทำงานดีขึ้นขณะที่เปิดรับแสง ซึ่งได้เป็นช่วงที่เราถือกล้อง ตัวอย่างเช่น เมื่อใช้เลนส์ถ่ายไกล 135 มม. ความเร็วชัตเตอร์ต้องไม่น้อยกว่า 1/125 วินาที แต่ถ้าวางกล้องลงบนพื้นผิวแข็ง จะทำให้คุณถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลงหลาย Stop