วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการถ่ายภาพเคลื่อนไหว

การถ่ายภาพเคลื่อนไหวสามารถนำมาใช้ในการถ่ายภาพกีฬา คน สัตว์ วัตถุใดๆ ที่เคลื่อนไหว เทคนิคการถ่ายภาพเคลื่อนไหวเช่น
ภาพที่จับการเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง
การถ่ายภาพประเภทนี้ สิ่งสำคัญก็คือจะต้องเลือกใช้ความไวชัตเตอร์ให้เหมาะสมเพื่อจับภาพการเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง การใช้ความไวชัตเตอร์มีปัจจัยสามประการที่ต้องพิจารณาคือ ความเร็วของวัตถุ ระยะทางจากกล้องถึงวัตถุ ทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ
วัตถุเคลื่อนที่เร็วใช้ความเร็วชัตเตอร์มากกว่าวัตถุเคลื่อนที่ช้า(ทิศทางเดียวกัน ระยะทางเท่ากัน)
วัตถุเคลื่อนที่ระยะใกล้ใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงกว่าวัตถุในระยะไกลออกไป(ความเร็วเท่ากัน ทิศทางเดียวกัน) สำหรับการเคลื่อนที่
หากเคลื่อนที่ผ่านหน้ากล้องจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงกว่าทิศทางอื่นๆ ส่วนทิศทางการเคลื่อนที่เข้าหรืออกจากตัวกล้อง สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ปานกลางถึงต่ำ
ภาพที่แสดงลีลาการเคลื่อนไหว
ลักษณะของภาพประเภทนี้ จะมีส่วนที่มีความคมชัดกับพร่ามัวรวมอยู่ในภาพ แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวและความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้สามารถใช้ได้ค่อนข้างกว้างมาก ขึ้นอยู่กับผู้ถ่ายเองว่าจะต้องการภาพที่คมชัดหรือพร่ามัวมากน้อยแค่ไหน หากใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำมากๆความพร่ามัวจะยิ่งมากขึ้น
การใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ จะทำให้ภาพพร่ามัว แสดงถึงการเคลื่อนไหวของวัตถุ และอาจใช้แฟลชร่วมได้
การแพนกล้องหรือการส่ายกล้องตามการเคลื่อนที่ของวัตถุ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่นิยมนำมาใช้ โดยผลของการใช้จะทำให้วัตถุหยุดนิ่ง เช่น ฉากหน้าหรือฉากหลังพร่ามัว ส่วนวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวจะคมชัด(ถ้าโฟกัสถูกต้อง) ข้อสำคัญคือจะต้องแพนกล้องตามการเคลื่อนที่จนถึงตำแหน่งที่ต้องการและในขณะกดชัตเตอร์ต้องแพนกล้องตามในขณะที่กล้องบันทึกภาพด้วย เพราะการหยุดการแพนกล้องในขณะกดชัตเตอร์จะทำให้ได้ภาพพร่ามัวเพียงอย่างเดียว
การแพนกล้องที่ดี คือ จากซ้ายไปขวา ความเร็วชัตเตอร์ใช้ได้ตั้งแต่ความไวปานกลางถึงต่ำมาก
นอกจากนี้ยังสามารถใช้เลนส์ซูม ซูมภาพในขณะที่กดชัตเตอร์ ภาพจะมีลักษณะพุ่งเข้าหากล้องแต่จริงๆแล้ววัตถุอยู่กับที่
เคล็ดลับนี้ค้นมาจากหนังสือ 108 เทคนิคการสร้าสรรค์ภาพ โดยคุณประสิทธิ์ จันเสรีกร
เนื่องมาจากการเปลี่ยนทางยาวโฟกัส และอีกวิธีคือการใช้แฟลชร่วมกับความเร็วชัตเตอร์ต่ำ(1/8วินาที หรือต่ำกว่า)ภาพที่ได้จะมีความคมชัดผสมพร่ามัว

1 ความคิดเห็น: