วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการถ่ายภาพคอนเสิร์ต

บอกวิธีชดเชยแสงในการถ่ายภาพคอนเสิร์ต
การจับวินาทีสุดยอดช่วงคอนเสิร์ตนั้นดูเป็นเรื่องท้าทายกับประสบการณ์ที่เต็มเปี่ยม และจากประสบการณ์ดังกล่าวจะทำให้คุณหาช่วงเร้าใจของนักแสดงที่โก่งโค้งจากแผ่นฟิล์มได้ อย่างไรก็ตาม คุณก็จะเผชิญกับกับสภาพธรรมชาติที่ไม่เอื้อต่างๆ นานา อาทิ ค่าแสงที่ผันแปรอย่างต่อเนื่อง และภาพมัวที่เกิดจากเคลื่อนไหวของวัตถุ เนื่องจากเราไม่สามารถใช้ขาตั้งกล้องในเวลานั้นได ้ และต้องถ่ายข้ามศีรษะคน จึงต้องใช้ความพยายามอย่างไม่ลดละ ทำให้เราต้องใช้นโยบายป้องกันไว้ก่อน โดยการถ่ายหลายๆ ม้วน เนื่องจากเราจูงใจที่มุ่งมั่นในการถ่ายภาพ จากเหตุการณ์ที่มีแสงต่ำจะทำให้ช่างภาพค้นหาวิธีที่จะพ้นอุปสรรคเหล่านี้ได้
แง่มุมต่างๆ ทางเทคนิคในการถ่ายภาพคอนเสิร์ตจะให้ทางเลือกที่จำกัดมาก เมื่อถ่ายภาพคอนเสิร์ตหรือเหตุการณ์บนเวทีอื่นๆ จะต้องปรับการเปิดรับแสงเพื่อชดเชยแสงที่ควบคุมยาก เนื่องจากในระหว่างคอนเสิร์ตสปอร์ตไลท์จะเปลี่ยนบ่อยมาก ซึ่งมีผลต่อค่าของแสงในเหตุการณ์ ดังนั้นเวลาที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพก็คือเมื่อแสงสว่างจ้าที่สุด อย่างไรก็ตามแม้ว่าแสงจะสว่างสูงสุด ก็ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ไวมากเพื่อหยุดแอคชั่นต่างๆ อย่างน้อยสุดใช้ 1/125 วินาที และคุณควรได้ทำตามคำแนะนำต่อไปนี้

บอกวิธีใช้ฟิล์มในการถ่ายภาพคอนเสิร์ต
การใช้ฟิล์มไวแสง แฟลชแทบจะไม่ต้องใช้เลย ดังนั้นคุณจะถ่ายภาพส่วนใหญ่จากแสงที่มีอยู่แล้ว แต่เนื่องจากระดับแสงต่ำและมีการเคลื่อนไหวของวัตถุ จึงต้องใช้ฟิล์มที่มีอัตราความไวแสงอย่างน้อย 400 ISO ถ้าใช้ 1400 ISO จะดียิ่งขึ้น แต่ถ้าเมื่อไรเป็นโฆษณาลงนิตยสาร ควรใช้ฟิล์มโปร่งใสด้วย ส่วนฟิล์มสไลด์จะให้การคำนวณการเปิดรับแสงแม่นยำกว่าฟิล์มธรรมดา

บอกวิธีใช้เครื่องวัดแสงจุดในการถ่ายภาพคอนเสิร์ต
การใช้เครื่องวัดแสงจุดและเล็งไปที่วัตถุ จะทำให้การกำหนดการเปิดรับแสงแม่นมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แต่ถ้าแสงจัดหรือมืดมากเกินไป ใช้มิเตอร์วัดแสงจุดอ่านหาค่ากลางของน้ำหนักของเหตุการณ์ เนื่องจากธรรมชาติของสปอร์ตไลท์ การอ่านค่าแสงจากขั้นตอนทั้งหมดทำให้กล้องหาค่าการเปิดรับแสงได้ไม่พอเหมาะ ถ้าหากว่ากล้องไม่มีมิเตอร์วัดแสงจุดในตัว คุณจะต้องใช้มิเตอร์มาตรฐาน และเพิ่มค่าเปิดรับแสงพิเศษ

บอกวิธีเลือกใช้เลนส์ในการถ่ายภาพคอนเสิร์ต
การใช้เลนส์ซูม การใช้เลนส์ชนิดนี้จำเป็นต้องใช้ความยาวโฟกัสมาก ดังนั้นจึงมีประสิทธิภาพมากกว่าเลนส์ Telephoto และเมื่อต้องการถ่ายภาพขณะที่มีฝูงชนหนาแน่น การใช้ Switching Lens จะไม่ได้ผล ให้เลนส์ซูม 80-200 มม. จะเหมาะกับการถ่ายภาพในคอนเสิร์ตมากกว่า แต่ถ้าต้องการเล็งภาพให้ใกล้มากขึ้นกว่าการใช้ความยาวโฟกัส 200 มม. นั้น ควรจะเพิ่มตัวขยายเลนส์ ซึ่งตัวขยายเลนส์ที่ใช้กันมากที่สุด คือ 2x ซึ่งจะเพิ่มความยาวโฟกัสของเดิมเป็น 2 เท่าอย่างมีประสิทธิผล และพึงรู้ไว้ว่าตัวขยายเลนส์ต้องการการเปิดรับแสงเพิ่มขึ้น 2 Stop ดังนั้นเลนส์ที่มีประสิทธิผลจะช้ากว่า 2 Stop ตัวอย่าง เลนส์ 135 มม. มีค่า F/2.8 จะกลายเป็นเลนส์ที่มีค่า F/5.6 270 มม. เมื่อใช้ ZX Extender

อธิบายวิธีจับกล้องในการถ่ายภาพคอนเสิร์ต
ต้องแน่ใจว่าขณะถ่ายภาพมือจะไม่สั่น เพราะขาตั้งกล้อง 3 ขาและขาเดียว แทบจะใช้ไม่ได้ผลเลยในเวทีคอนเสิร์ต ดังนั้นจะต้องจับกล้องให้มั่น แต่การจับเลนส์ถ่ายไกลให้มั่นคงนั้นทำได้ยาก เคล็ดลับคือการหายใจลึกๆ เพื่อกดชัตเตอร์แล้วปล่อย การวางกล้องกับเลนส์รวมกันไว้บนที่นั่ง กำแพงหรือรั้ว จะทำให้กล้องทำงานดีขึ้นขณะที่เปิดรับแสง ซึ่งได้เป็นช่วงที่เราถือกล้อง ตัวอย่างเช่น เมื่อใช้เลนส์ถ่ายไกล 135 มม. ความเร็วชัตเตอร์ต้องไม่น้อยกว่า 1/125 วินาที แต่ถ้าวางกล้องลงบนพื้นผิวแข็ง จะทำให้คุณถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลงหลาย Stop

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น